วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

video conference

Video  conference

ความหมาย
            Videoconference)  คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพ เสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ

ความสำคัญ
         Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่
สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ ตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง, ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องแลไมโครโฟน ส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือ สามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน

ประโยชน์ของ  Video Conference
  • ด้านการศึกษา
แม้แต่ในสถาบันการเรียนการสอนเช่นมหาวิทยาลัยก็ให้ความสำคัญของการเรียนการ
สอนหลายสถาบันมีปัญหาเรื่องขาดแคลนอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญโดยผู้สอนไม่จำเป็นต้อง
เดินทางไปสอนถึงสถานศึกษานั้นๆผู้สอนอาจจะอยู่ที่กรุงเทพฯแล้วทำการสอนไปยัง
ต่างจังหวัดได้ซึ่งช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาลดภาระค่าใช้จ่าย
ในการเดินทางของสถานศึกษาดังนั้นวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์เป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร
ข้อมูลทำให้สามารถส่งภาพเสียงได้อย่างรวดเร็วมีแนวโน้มที่จะนำมาแก้ปัญหาต่างๆ
เหล่านี้ได้อย่างดี
  • ด้านธุรกิจ
มีการประยุกต์ใช้เพื่อทำการPresentงานระหว่างสาขาที่อยู่ห่างกันทั้งสรุปผลงานของ
แต่ละสาขามายังสาขาใหญ่และยังสามารถประชุมร่วมกันทีละหลายๆสาขาได้ เพื่อทำการ
แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นของบริษัท ในกรณีที่สาขาเล็ก ๆไม่กล้าตัดสินใจที่จะแก้ไข
ได้เองผู้ร่วมประชุมสามารถโต้ตอบได้อย่างทันทีแม้จะอยู่คนละสถานที่ซึ่งเป็นการลดระยะ
เวลาในการเดินทางมาประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมทั้งความเสี่ยงในการเดินทาง
เพื่อเข้าร่วมประชุม
  • ด้านการแพทย์
มีการนำมาใช้ในโรงพยาบาลหลายแห่งโดยประยุกต์ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์
เพื่อให้การรักษาคนไข้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นแพทย์ที่อยู่ในชนบทสามารถ
ปรึกษาแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะโรคที่อยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ๆที่อยู่ห่างไกลเพื่อช่วย
ในการวินิจฉัยโรครวมถึงการขอแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ได้ เช่น แฟ้มประวัติ
คนไข้ ฟิล์มเอ็กซเรย์ การถ่ายทอดภาพในการผ่าตัดเพื่อสอนนักศึกษาแพทย์
มาตรฐานของระบบ Video Conference
  • มาตรฐาน
เพื่อให้ระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์มีมาตรฐานที่สามารถทำงานร่วมกันได้กับอุปกรณ์
ของบริษัทต่างๆ ที่ผลิตออกมาทางITU-Tซึ่งเป็นองค์กรด้านโทรคมนาคมสากลจึงได้
กำหนดมาตรฐานระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็น 4 หมวดหลัก ๆ คือ
    H.320เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายWANเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมในครั้ง
แรกๆที่มีการใช้ระบบVCSเนื่องจากรองรับเครือข่ายได้หลายประเภทเช่นISDN
(Intergrated Service Digital Network) Leased Lineรวมทั้งวงจรเช่าอื่นๆ เนื่องจาก
มาตรฐาน H.320 นี้ให้คุณภาพทั้งภาพและเสียงดี อีกทั้งค่าใช้จ่ายไม่สูง จึงทำให้เป็นที่
นิยม นำมาใช้ในเชิงธุรกิจ ทางด้านการศึกษา
    H.321 และ H.310 เป็นมาตรฐานที่รองรับระบบเครือข่าย ATM เพื่อให้ได้คุณภาพ
ของภาพและเสียงที่ดีที่สุดโดยทั่วไปใช้ในอาคารหรือในหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบัน
ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้กัน
    H.323 เป็นมาตรฐานที่รองรับการใช้งานทั้งเครือข่าย LAN และ WAN โดยมีการ
ส่งผ่านข้อมูลโดยใช้ IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งมีคุณภาพที่ดีในระดับเดียวกับ H.320 โดย
มาตรฐานนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันและมาแทนที่มาตรฐาน H.320 ใน
ปัจจุบันเนื่องจากใช้งานง่าย และปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกันได้เยอะ ทำให้มีการ
นำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
    H.324 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งมีคุณภาพค่อน ข้างต่ำจึงไม่ได้
รับความนิยมในปัจจุบัน
  • ความเร็วในการสร้างภาพ
    ความเร็วในการสร้างภาพ หรือ FrameRate คืออัตราจำนวนภาพที่ปรากฏบน
หน้าจอใน 1 วินาที ซึ่งหากมีจำนวนภาพใน1วินาทีมากเท่าไหร่ก็จะทำให้คุณภาพของภาพ
เคลื่อนไหวเป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่มีการกระตุกในระบบ Video Conference จะใช้
ความเร็วอยู่ 2 ระดับคือ
    ระดับ 15 ภาพต่อวินาที (15 frame/sec)
    ระดับ 30 ภาพต่อวินาที(30 frame/sec) โดยภาพที่ใช้จำนวน Frame Rate สูง
    ก็ต้องใช้ Bandwidth สูงตามไปด้วย ซึ่งความเร็วระดับ 30 frame/sec ใช้ Bandwidth อย่างต่ำประมาณ 384 Kbps
  • มาตรฐานเสียง
    Narrowbandเป็นคุณภาพของเสียงในระดับเดียวกับเครื่องโทรศัพท์ โดยมีความถี่
อยู่ในช่วง 300 KHz – 3.4 KHz โดยมาตรฐานที่อยู่ในย่านนี้มีดังนี้
    มาตรฐาน G.711 Bandwidth ที่ใช้ 64 Kbps
    มาตรฐาน G.728 Bandwidth ที่ใช้ 16 Kbps
    Wideband คุณภาพเสียงที่ได้มีความชัดเจนกว่า Narrowband ซึ่งมีความถี่อยู่ใน
ช่วง 300 KHz – 7 KHz ทำให้เสียงมีความสดใส และชัดเจนกว่ามาตาฐานในย่านนี้
    Super Wideband เป็นมาตรฐานใหม่ที่ให้คุณภาพเสียงดีที่สุด โดยมีความถี่สูง
ถึง 14 KHz ทำให้คุณภาพที่ได้รับมีคุณภาพดีเทียบเท่ากับเสียงที่มาจากเครื่องเล่น CD
  • มาตรฐานการบีบอัดข้อมูล
    H.261เป็นมาตรฐานโคเด็กที่ใช้กับความเร็วของสื่อสารขนาดNx64 กิโลบิต
และถ้าเต็มE1(2048)จะได้ภาพเคลื่อนไหวเต็มที่
    H.263เป็นมาตรฐานที่ออกมาทีหลังH.261เพื่อแก้ปัญหาการบีบอัดไฟล์ได้น้อย
ทำให้มาตรฐานH.263มีมาตรฐานในการบีบอัดสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย
ใช้Bandwidth น้อยลง
  • มาตรฐานของภาพ
โดยปกติแล้วระบบ Video Conference จะมีการสร้างภาพอยู่ 2 ลักษณะคือ
    แบบ FCIF มีความละเอียดต่อจุดที่นำมาประกอบเป็นรูปภาพ 352 X 288 จุด
    แบบ QIF มีความละเอียดต่อจุดที่นำมาประกอบเป็นรูปภาพ 176 X 144 จุด
         ดังนั้นแบบ FCIF และ QCF ซึ่งจะมีขนาดที่ปรากฏอยู่บนจอภาพเท่ากันแต่ความ
ละเอียดจะแตกต่างกัน
*** ซึ่งในปัจจุบัน Video Conference สามารถรองรับความละเอียดสูงสุดในระดับ XGA (1024 X 768) ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดและคมชัดกว่ามาตรฐานทั่วไป
อุปกรณ์ที่สำคัญของ Video Conference
  • โคเด็ก (CODEX)

 
Codec เป็นคำย่อมาจาก CodeและDecodeเป็นตัวเข้ารหัส
สัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟนส่งผ่าน
เส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่งรวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้
รับมาจากอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอ
และลำโพง เส้นทางสื่อสารขนาด 384Kbpsขึ้นไปสามารถให้
คุณภาพในระดับที่ยอมรับโดยหลักการทำงานของCODEC
จะแปลงสัญญาณ อนาล็อคทั้งภาพและเสียงให้เป็นสัญญาณ
ดิจิตอลและจะบีบสัญญาณให้เล็กลงโดยดำเนินข้อมูลภายใน
เฟรมเดียวกัน CODECเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบหลัก
การทำงาน


  • กล้อง
 



 
เป็นกล้องทีวีที่ใช้ในการจับภาพผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อ
ส่งเข้า CODEC แปลงและบีบอัดสัญญาณ มีระบบ
เซอร์โวเพื่อควบคุมมาจากระยะไกลให้ปรับมุมเงย
มุมก้มส่วนซ้ายขวา และซูมภาพได้ ปกติจะมาพร้อม
ชุดอุปกรณ์ Codec

  •  จอภาพ

แสดงภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากระบบต้น
ทางและปลายทางเป็นจอภาพที่ใช้กับระบบ
PAL
หรือTSCภาพที่ปรากฏมีระบบรวมสัญญาณเพื่อแบ่ง
จอภาพเป็นจอเล็ก ๆเพื่อดูปลายทางแต่ละด้าน
หรือดูภาพของตนเองระบบจอภาพอาจขยายเป็น
จอใหญ่ขนาดหลายร้อยนิ้วก็ได้

  •  ไมโครโฟน (Microphone)


ทำหน้าที่รับเสียงจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่ง
ไปยังระบบเสียงปลายทาง


  •  แป้นควบคุม (Control Key Pad
แป้นควบคุมทำหน้าที่ควบคุมกล้องเสียงและเลือกส่งภาพจากแหล่งต่างๆไปยังระบบปลายทาง เป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการควบคุมระบบ เช่น ควบคุมการปรับมุมกล้องที่ปลายทางระยะห่างไกล การเลือกการติดต่อปลายทาง การปรับเสียง ปรับระบบสื่อสารต่าง
  • หลักการทำงานมีวิธีการอย่างไร ?
1. เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงอุปกรณ์ทั้งหมดให้เรียบร้อย ได้แก่ Codec Network
กล้องเสริม,จอโทรทัศน์, Projector, เครื่องนำเสนอ, Computer, เครื่องบันทึก,             ระบบเสียงชุดประชุม (ตามความต้องการใช้งาน)
2. เชื่อมต่อ
Codec เข้ากับระบบ Network เพื่อ Config IP ให้กับ Codec
3. ทดสอบการแสดงผลของภาพและเสียงในฝั่งของตนเองให้ถูกต้อง เมื่อติดตั้งและ
ทดสอบเรียบร้อยแล้วก็ให้ทำการติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ
Conference    ระหว่างวิทยาเขตต่อไปหลักในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ระบบการประชุมทางไกล
ตัวอย่างการประชุมสายโทรศัพท์


จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการประชุมสายโทรศัพท์
1.ผู้ประชุมสายและผู้ร่วมสนทนาจะต้องทราบหมายเลขต้นทางและปลายทางของ
ทั้งสองฝ่าย
2. จากนั้น A โทรออกไปหา B เมื่อ B รับโทรศัพท์เรียบร้อยแล้ว ระหว่างที่สนทนา
กันอยู่นั้น C โทรเข้ามาหา A จากนั้น A จะทำการประชุมสาย โดยเลือกเมนู >> เลือก
ประชุมสาย เมื่อประชุมสายแล้ว A , B และ C สามารถสนทนาคุยกันได้ โดยผ่าน
ทางโทรศัพท์
3. เมื่อต้องการเพิ่มผู้สนทนา A ทำการโทรออกไปยัง D จากนั้นเมื่อ D รับสาย A
เลือกประชุมสาย จากนั้นเมื่อ C ไม่ต้องการคุยแล้ว C สามารถกดวางสายได้ แต่
ผู้สนทนาคนอื่นๆ ยังสามารถประชุมสายกันได้
ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อ Video Conference



จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากติดตั้งชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย กล้องคอนเฟอร์เรนซ์ , Codec, Microphone , ลำโพง,จอภาพ เป็นการต่ออุปกรณ์ของยี่ห้องโพลีคอมที่มีคุณสมบัติเฉพาะ
สามารถประชุมกันได้ 4 ที่ โดยไม่ต้องผ่าน MCUซึ่งจากภาพยกตัวอย่างการประชุม
คอนเฟอร์เรนซ์ส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) ไปยังต่างจังหวัดทั้งหมด 3 จังหวัดซึ่งแต่ละจังหวัด
จะมีหมายเลขไอพีสาธารณะ (public IP)โดยการทำงานของคอนเฟอร์เรนซ์    เริ่มจาก
ส่วนกลางเป็นเจ้าภาพในการประชุม จากนั้นทั้ง 3 จังหวัด จะทำการ call เข้ามาที่ส่วนกลาง
เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์โคเด็ก ซึ่งแต่ละsiteจะมีโคเด็กเป็นตัวรับและส่งหรือเข้ารหัสและถอด
รหัส ผ่านช่องสัญญาณ ADSL ซึ่งแต่ละsite จะสามารถเชื่อมต่อกันได้ผ่านหมายเลขไอพี เมื่ออุปกรณ์เชื่อมต่อกันแล้วจะสามารถสนทนากันได้


       ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่าน MCU
      


     จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่าน MCU
      ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากติดตั้งชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย กล้องคอนเฟอร์เรนซ์ , Codec, Microphone,ลำโพง,จอภาพเป็นการต่ออุปกรณ์ของยี่ห้องโพลีคอมผ่านอุปกรณ์ MCUสามารถรองรับการประชุมได้หลายจุดซึ่งจากภาพยกตัวอย่างการประชุมคอนเฟอร์
เรนซ์ ส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) ไปยังต่างจังหวัดทั้งหมด 4 จังหวัดซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีหมาย
เลขไอพีสาธารณะ (public IP) โดยการทำงานของคอนเฟอร์เรนซ์เริ่มจากโคเด็กเชื่อมต่อ
หมายเลขไอพีกับ MCU(Multipoint Control Unit(MCU) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รวบรวม,
ประมวลผลและควบคุมการประชุมที่มากกว่า 2 การประชุมขึ้นไปอุปกรณ์ชนิดนี้มีทั้งแบบ
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ MCU ที่ใช้ Software base จะทำงานบนระบบ
ปฏิบัติการวินโดว์NT/2000 server,Unix และ Linux) และต่อ Notebook เข้ากับ MCU เพื่อใช้ Control การทำงานทั้งหมดจากนั้นทุก site จะทำการ call เข้ามาที่ส่วนกลาง
โดยผ่านช่องสัญญาณ ADSL โดยมี H.323 เป็นตัวเชื่อมต่ออุปกรณ์ Video conference Over IP สามารถคุยกับอุปกรณ์ Video Conference Over ISDN จากนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ control จะทำการเชื่อมต่อทุก site ให้ทำงาน


ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ด้วยการ VPN



จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ด้วยการ VPNขั้นตอนการทำงานเริ่มจากติดตั้งชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย กล้องคอนเฟอร์เรนซ์ , Codec, Microphone , ลำโพง,จอภาพ เป็นการต่ออุปกรณ์ของยี่ห้องโพลีคอมผ่านอุปกรณ์ MCU สามารถรองรับการประชุมได้หลายซึ่งจากภาพยกตัวอย่างการประชุมคอนเฟอร์เรนซ์
ส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) ไปยังต่างจังหวัดทั้งหมด 4 จังหวัด โดยให้แต่ละจังหวัด VPN
(เปรียบเสมือนถนนส่วนตัว เชื่อมต่อกันระหว่างต้นทางกับปลายทาง สามารถส่งข้อมูลต่างๆ โดยข้อมูลที่ส่งนั้นจะถูกส่งผ่านไปในถนนที่สร้างไว้เท่านั้นทำให้มีความปลอดภัยสูง)เข้ามา
ที่ส่วนกลาง ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีหมายเลขไอพีส่วนตัว (Private IP) โดยการทำงานของ
คอนเฟอร์เรนซ์เริ่มจากโคเด็กเชื่อมต่อหมายเลขไอพีกับ MCU จากนั้นต่อ Notebook เข้ากับ MCU เพื่อใช้ Control การทำงานทั้งหมด แล้วเชื่อมต่อ MCU เชื่อมต่อหมายเลขไอพี
กับ Switchและต่อSwitchเข้ากับ Router จากนั้นทุก site จะทำการ call เข้ามาที่ MCU ผ่านทาง VPN จากนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ control จะทำการเชื่อมต่อทุก site ให้ทำงาน


แหล่งที่มา
เมื่อวันที่  21 กุมภาพันธ์  2556


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น