วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Blog

Blog

      Blog มาจากศัพท์คำเต็มว่า WeBlog  คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลานอกจากนี้แล้ว Blog ยังเป็นพื้นที่ให้ Blogger โพสต์ข้อมูล หรือใส่ความรู้ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพเป็นต้น การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อนไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา
HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้วโดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการเสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ  ข้อแตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์ทั่วไปคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูลสามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียนซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที
      ในปัจจุบันบล็อกถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสารการแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆโดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่ายตัวอย่างผู้ให้บริการ Blog เช่น Bloggang, exteenหรือ BlogKaหรือต่างประเทศเช่น Blogger, Wordpress, MySpace
      บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหากส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้าน HTML หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการบริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุนระบบ
WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน 
ตัวอย่าง


เรื่อง การใช้บล็อกในการจัดการเรียนรู้
โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ ภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง
(
Upgrading Teacher Qualification Through the Whole System: UTQ)
          หลังจากที่ได้รู้ว่าบล็อกคืออะไร สามารถทำอะไรได้บ้าง สมัครสมาชิกแล้ว สร้างบล็อกเป็นแล้ว คราวนี้ก็เข้าสู่วิธีการที่จะนำบล็อกไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ว่าจะดำเนินการอย่างไร 
          เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ผมจะยกตัวอย่างที่ผมได้ทดลองใช้ และเพื่อนครูที่กำลังทดลองใช้กันอยู่ ดังนี้
ขั้นที่ 1 เลือกเนื้อหาที่จะใช้ 
          การที่ครูผู้สอนจะใช้บล็อกเพื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนนั้น มิได้หมายความว่าทั้งภาคเรียนต้องใช้ตลอด แต่ควรเลือกใช้ในบางกรณีเพื่อทำให้การจัดการเรียนรู้ที่ไปกระตุ้นให้การเรียนการสอนมีเทคนิควิธีการที่แปลกออกไป โดยมีจุดมุ่งหมายหลักๆ ดังนี้          1. เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในสิ่งที่เป็นประโยชน์ มิใช่ใช้อินเทอร์เน็ตเพียงแค่เล่นเกม หรือใช้ในสิ่งที่ไม่ค่อยจะมีสาระมากนัก เป็นการลดการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ไม่เหมาะสม          2. เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักการค้นคว้าข้อมูลตามหัวข้อที่ครูกำหนด แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ ซึ่งเหมือนกับทำรายงานส่งครู มิได้มุ่งเน้นให้นักเรียนไปคัดลอกข้อมูลจากหนังสือ จากไฟล์ Word ไฟล์ PowerPoint หรือ เว็บไซต์ต่างๆ แล้วมาใส่ลงเลย          3. เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียค่ากระดาษ ค่าหมึก ค่าเย็บเล่มส่งครู          4. เพื่อให้ผลงานของนักเรียนได้ถูกตรวจสอบจากผู้อื่นด้วย ทำให้ต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง จะละเลยเพราะคิดว่าครูผู้สอนไม่รู้ไม่ได้ เป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเคารพสิทธิผู้อื่น          5. เพื่อให้ครูและนักเรียนได้รู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้          6. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้อื่นที่ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าต่อไป ดังนั้น ควรเลือกเนื้อหาที่ต้องมีการเขียนรายงานหลังจากไปค้นคว้ามา สามารถแทรกภาพได้ด้วย
ขั้นที่ 2 สร้างบล็อกสั่งงาน 
          โดยสร้างขึ้นมาเพียงภาคเรียนละ 1 Node เช่น http://www.thaigoodview.com/node/21509 ดังรูปที่ 4-1
 
รูปที่ 4-1

ในขั้นตอนนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ให้ครูผู้สอนสร้าง URL เพื่อไปบอกนักเรียนว่า ครูได้สั่งงานทั้งภาคเรียนไว้แล้วที่ URL ไหน ไม่ว่าครูคนนั้นจะสอนกี่ห้อง กี่วิชา ในภาคเรียน 1 ภาคเรียน ก็สร้างเพียง 1 Node เพราะครูจะได้ไม่ยุ่งยากในการจำ นักเรียนก็ไม่งง แม้จะอยู่ต่างห้องกัน พอเปลี่ยนภาคเรียนใหม่ค่อยสร้าง Node ใหม่           สำหรับคุณครูที่อยากสร้างรายวิชาละ 1 Node ท่านก็สามารถทำได้  ดังรูปที่ 4-2

รูปที่ 4-2
ขั้นที่ 3 สร้างบล็อกส่งงาน          ควรสร้าง 1 Node ต่อ 1 งาน เพื่อสะดวกในการส่งงานของนักเรียน และสะดวกในการตรวจงานของครู เช่น http://www.thaigoodview.com/node/21511 ดังรูปที่ 4-3


รูปที่ 4-3

          ในขั้นตอนนี้ครูผู้สอนต้องเตรียมการล่วงหน้าเช่นเดียวกัน ซึ่งต้องสัมพันธ์กับตอนที่ 2 เช่น ตอนที่ 2 สั่งงานไว้ว่า
ชั้นม.6/1
          - งานครั้งที่ 1          - งานครั้งที่ 2          - งานครั้งที่ 3          - .............          ต้องไปสร้าง Node งานครั้งที่ 1 ไว้ ว่าจะให้นักเรียนทำอะไร ส่งงานอย่างไร หมดเขตส่งเมื่อไร คะแนนเท่าไร พร้อมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่ต้องการแจ้งให้นักเรียนทราบ          สร้าง Node งานครั้งที่ 2 ไว้ ว่าจะให้นักเรียนทำอะไร ส่งงานอย่างไร หมดเขตส่งเมื่อไร คะแนนเท่าไร พร้อมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่ต้องการแจ้งให้นักเรียนทราบ          สร้าง Node งานครั้งที่ 3 ไว้ ว่าจะให้นักเรียนทำอะไร ส่งงานอย่างไร หมดเขตส่งเมื่อไร คะแนนเท่าไร พร้อมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่ต้องการแจ้งให้นักเรียนทราบ          เสร็จแล้ว กลับไปทำลิงค์หน้าที่ทำในขั้นตอนที่ 2 ให้มายังหน้าในขั้นตอนที่ 3
ขั้นที่ 4 ให้นักเรียนสมัครสมาชิก และอธิบายการเรียนการสอนสอนโดยใช้บล็อก
นักเรียนต้องทำดังนี้
- สมัครสมาชิก อ่านบทที่ 2 เรื่องการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ให้บริการ
Blog
- วิธีการใช้บล็อก อ่านบทที่ 3 เรื่องการสร้าง
Blog และการใช้งาน
ขั้นที่ 5 การส่งงานของนักเรียน
ในการส่งงานของนักเรียนสามารถทำได้หลากหลายวิธีเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ให้นักเรียนทำลงในกระดาษแล้วส่งครูโดยตรง แต่วิธีที่ประหยัด และนักเรียนชื่นชอบ คือการให้ตอบส่งในบล็อก เมื่อทำเสร็จ นักเรียนจะได้
URL ของแต่ละคน หลังจากนั้นให้มาแจ้งส่ง โดยคลิกที่แสดงความคิดเห็น แล้วแจ้ง URL ของบล็อกที่ตนเองสร้างไว้ ซึ่งในการแจ้งส่ง นักเรียนต้องแจ้งตรงตามห้องที่ครูกำหนดไว้ในขั้นที่ 3 เช่น http://www.thaigoodview.com/node/21511 ดังรูปที่ 4-4

รูปที่ 4-4
รูปที่ 4-4
ขั้นที่ 6 การตรวจงานของครูผู้สอน ครูผู้สอนเข้าไปยังห้องที่ให้นักเรียนส่งงาน แล้วคลิกที่ URL ที่นักเรียนแจ้งส่ง แล้วให้ข้อคิดเห็นที่แสดงความคิดเห็นของแต่ละชิ้นงาน เช่น http://www.thaigoodview.com/node/23185 ดังรูปที่ 4-5


 รูปที่ 4-5
แหล่งที่มา
Rebecca Blood. Weblogs: a history and perspective. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.rebeccablood.net/essays/weblog_history.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2552).Pamela Paul. The New Family Album. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,993832-3,00.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2552).Wikipedia.Blog.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Weblog. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2552).nut-tangmo. ประวัติ blog. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://nuttangmo.blogspot.com/2008/02/blog_07.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2552).
พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล. การใช้บล็อก (
Blog) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaigoodview.com/node/20850. (วันที่ค้นข้อมูล : 30 มีนาคม 2552).
เมื่อวันที่  21 กุมภาพันธ์  2556

 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น