วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

 

คลื่นกล (Mechanical Wave )


          คลื่นกล คือการถ่ายโอนพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยการเคลือนที่ไปของคลื่นต้องมีโมเลกุลหรืออนุภาคตัวกลางเป็นตัวถ่ายโอนพลังงานจึงจะทำให้คลื่นแผ่ออกไปได้  ดังนั้นคลื่นกลจะเดินทางและส่งผ่านพลังงานโดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง เพราะตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่แต่จะสั่นไปมารอบจุดสมดุล  ต่างจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง

คำว่าคลื่นตามคำจำกัดความ หมายถึง การรบกวน (disturbance) สภาวะสมดุลทางฟิสิกส์ และการรบกวนนั้นจะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งออกไปยังอีกจุดหนึ่งได้ตามเวลาที่ผ่านไป  ในบทนี้จะกล่าวถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคลื่นในทางฟิสิกส์



ภาพคลื่นกล

การแบ่งประเภทของคลื่น

1. คลื่นตามขวาง (transverse wave)   ลักษณะของอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก

คลื่นตามขวาง


2. คลื่นตามยาว (longitudinal wave)    ลักษณะอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น  เช่น คลื่นเสียง

คลื่นตามยาว


ส่วนประกอบของคลื่น


1.สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก จุด g
2.ท้องคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ จุด e
3.แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ วัดจากระดับปกติไปถึงสันคลื่นหรือไปถึงท้องคลื่น สัญลักษณ์ A
4.ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน หรือระยะระหว่าง 2 ตำแหน่งบนคลื่นที่ที่เฟสตรงกัน(inphase) ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ Lamda  มีหน่วยเป็นเมตร (m)  ระยะ xy
5.ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)  จาก cd   โดย f = 1/T
6.คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็น
วินาทีต่อรอบ (s/รอบ )  โดย  T = 1/f  
7.หน้าคลื่น(wave front)  เป็นแนวเส้นที่ลากผ่านตำแหน่งที่มีเฟสเดียวกันบนคลื่น เช่นลากแนวสันคลื่น หรือลากแนวท้องคลื่น 


อัตราเร็วในเรื่องคลื่น แบ่งได้ดังนี้

1. อัตราเร็วคลื่น หรือเรียกว่าอัตราเร็วเฟส   เป็นอัตราเร็วคลื่นที่เคลื่อนที่ไปแบบเชิงเส้น  ซึ่งอัตราเร็วคลื่นกลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน

สมการที่ใช้


2. อัตราเร็วของอนุภาคตัวกลาง   เป็นการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก  โดนสั่นซ้ำรอยเดิมรอบแนวสมดุล ไม่ว่าจะเป็นคลื่นกลชนิดตามขวางหรือตามยาว

สมการที่ใช้
1.อัตราเร็วที่สันคลื่นกับท้องคลื่น เป็นศูนย์
2.อัตราเร็วอนุภาคขณะผ่านแนวสมดุล มีอัตราเร็วมากที่สุด


3.อัตราเร็วอนุภาคขณะมีการกระจัด y ใดๆ จากแนวสมดุล



3. อัตราเร็วคลื่นในน้ำ  ขึ้นกับความลึกของน้ำ ถ้าให้น้ำลึก d   จะได้ความสัมพันธ์ 

4. อัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือก  ขึ้นอยู่กับแรงตึงเชือก (T) และค่าคงตัวของเชือก (u) ซึ่งเป็นค่ามวลต่อความยาวเชือก   



การเกิดคลื่นและการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก

การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล  อนุภาคตัวกลางจะเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย ซ้ำรอยเดิมรอบจุดสมดุล ไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่น  การเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางแบบนี้เราจะเขียนแทนการเคลื่อนที่ของคลื่นแบบรูปไซน์ ( sinusoidal wave ) ซึ่งเราสามารถหาค่าปริมาณต่างๆ ได้ ดังนี้


ลักษณะการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย

1.เป็นการเคลื่อนที่แบบสั่นหรือแกว่งกลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิมโดยมีการกระจัดสูงสุดจากแนวสมดุล 
(แอมพลิจูด) คงที่
2.เป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร่งและแรงแปรผันโดยตรงกับขนาดของการกระจัด แต่มีทิศทางตรงข้ามกันเสมอ (แรงและความเร่งมีทิศเข้าหาจุดสมดุล แต่การกระจัดมีทิศพุ่งออกจากจุดสมดุล)
3.ณ ตำแหน่งสมดุล x หรือ y = 0 , F = 0 , a = 0 แต่ v มีค่าสูงสุด
4.ณ ตำแหน่งปลาย x หรือ y , F , a มีค่ามากที่สุด แต่ v = 0
5.สมการการเคลื่อนที่แบบซิมเปิ้ลฮาร์มอนิก

แหล่งที่มk  :http://kruweerajit1.blogspot.com/  เมื่อวันที่  1  กุมภาพันธ์  2556





สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม



สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (อังกฤษMammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อม[1] มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด[2] เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่


ภาพหมีโคอะล่า
วิวัฒนาการ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีวิวัฒนาการในระยะตอนต้นของมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานก่อนหน้าที่ไดโนเสาร์จะมีวิวัฒนาการจนถึงระดับสูงสุด มีกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมปรากฏขึ้น ได้แก่เธอแรพสิด (Therapsids) ที่มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน เธอแรพสิดมีการเปลี่ยนแปลงร่างกาย รวมทั้งโครงสร้างหลาย ๆ อย่าง จนมีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในปัจจุบัน แต่เดิมเธอแรพสิด จะมีรยางค์สองข้างที่ตั้งฉากออกมาจากด้านข้างของลำตัว ตามลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานในมหายุคมีโซโซอิก ต่อมาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ รยางค์ที่เคยตั้งฉากจากด้านข้างของลำตัว เปลี่ยนเป็นเหยียดตรงและแนบชิดกับลำตัวแทน ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว และมีศักยภาพในการล่าเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

ในปัจจุบัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่จัดอยู่ในชั้นย่อยเธอเรีย (Subclass Theria) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ออกลูกเป็นตัว ซึ่งเป็นการสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในยุคจูแรสซิก เมื่อประมาณ 150 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกกลุ่มคือชั้นย่อยโพรโทเธอเรีย (Subclass Prototheria) ที่เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในแถบทวีปออสเตรเลีย ได้แก่ แทสเมเนีย (Tasmanial) และนิวกินี (New Guinea) ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่วางไข่ มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่น ๆ ที่ยังคงลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานเกือบทั้งหมด
ลักษณะทั่วไป
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ อย่างชัดเจน มีลักษณะทั่วไปคือตลอดทั่วทั้งลำตัวมีขนปกคลุม (hair) แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด อาจมีการวิวัฒนาการของร่างกายให้มีจำนวนเส้นขนลดน้อยลง มีผิวหนังที่ปกคลุมทั่วทั้งร่างกายและมีต่อมเหงื่อ (sweat glands) ต่อมกลิ่น(scent glands) ต่อมน้ำมัน (sebaceous glands) และต่อมน้ำนม (mammary glands) มีฟันที่แข็งแรงสำหรับล่าเหยื่อและบดเคี้ยวอาหารจำนวน 2 ชุด(diphyodont) ทั้งบริเวณขากรรไกรด้านบนและขากรรไกรด้านล่าง มีฟันชุดแรกคือฟันน้ำนม (milk teeth) ที่จะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ (permanent teeth) มีเปลือกตาที่สามารถเคลื่อนไหวได้ นัยน์ตา 2 ข้างสามารถกลอกไปมาเพื่อใช้สำหรับมองเห็นและป้องกันตัวเองจากศัตรู รวมทั้งมีใบหูที่อ่อนนุ่ม


ภาพอีเห็น

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด มีการวิวัฒนาการด้วยการปรับเปลี่ยนรยางค์ทั้ง 2 คู่ ให้เป็นไปตามแบบของแต่ละสายพันธุ์หรือในการดำรงชีวิต เช่นวาฬที่แต่เดิมจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยบนบก และมีการวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนตัวเองด้วยการลดรยางค์จากเดิมที่เป็นขาคู่หน้า ให้กลายเป็นครีบเพื่อสำหรับอาศัยในท้องทะเล จากหลักฐานโครงกระดูกของวาฬ เมื่อทำการเปรียบเทียบลักษณะของกระดูกบริเวณครีบหน้า จะเห็นว่ามีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงด้วยการลดรยางค์คู่หน้า จากเท้าหน้าให้กลายเป็นครีบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิดอาจลดรยางค์ลงหรือหายไปเลยก็มี ทั้งนี้ก็เพื่อการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ และสำหรับการดำรงชีวิต มีระบบหมุนเวียนภายในร่างกาย ที่ประกอบด้วยหัวใจที่มี 4 ห้องเช่นเดียวกับมนุษย์ มีเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะกลมแบน และเว้าทั้ง 2 ข้าง รวมทั้งไม่มีนิวเคลียสเป็นส่วนประกอบ
สามารถหายใจได้ด้วยปอดและมีกล่องเสียงสำหรับขู่คำราม เช่นแมว เสือ สิงโต เป็นต้น มีกะบังลม (diaphragm) มีลักษณะเป็นแผ่นกล้ามเนื้อทำหน้าที่กั้นระหว่างช่องอกและช่องท้อง มีระบบขับถ่ายที่ประกอบไปด้วยไตแบบเมทาเนฟรอส (metanephros) และมีท่อปัสสาวะ (ureter) ที่ทำหน้าที่เปิดเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) และมีสมองที่มีการเจริญอย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะสมองในส่วนนีโอซีรีบรัม (neocerebrum)รวมทั้งมีเส้นประสาทสมองจำนวน 12 คู่

ภาพตุ่นปากเป็ด



สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของลักษณะทั่วไปของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือ การรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ แม้สภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้พลังงานความร้อนที่เกิดจากเมทาโบลิซึมภายในร่างกาย (endothermic) หรืออาจจะกล่าวได้ในอีกทางหนึ่งที่ว่า อุณหภูมิร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม (homeothermic) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสัตว์เลือดอุ่น (warm-blooded)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีเพศที่แบ่งแยกชัดเจน ทำให้สามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย (dioeceous) สืบพันธุ์โดยการปฏิสนธิภายในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพศเมีย ตัวอ่อนภายในท้องจะมีสายรกสำหรับยึดเกาะ (placental attachment) และเจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูก มีเยื่อห่อหุ้มตัวอ่อน (fetal membrane) และมีน้ำนมจากต่อมน้ำนม เพื่อสำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อน ทั้งนี้มีการยกเว้นในกรณีของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับโมโนทรีมาทา ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดเดียวเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ก่อนจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน และเจริญเติบโตจนมีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวที่โตเต็มวัย

ภาพหนู

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและนก เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน ทำให้มีโครงสร้างของร่างกายที่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างสัตว์ทั้ง 3 กลุ่ม แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เด่นชัดที่สุดคือ "มีขนปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย" แม้ว่าในบางชนิดเช่นวาฬ จะลดจำนวนของขนลงไป หรือแม้แต่เกล็ดของสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นต้นกำเนิดของขน จะยังคงหลงเหลืออยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด เช่นเกล็ดบริเวณแผ่นหางของบีเวอร์และหนู เป็นต้น
แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประสบความสำเร็จ จนมีวิวัฒนาการถึงขีดสุดคือสมองในส่วนนีโอซีรีบรัม ที่มีความเจริญเติบโตอย่างดีเยี่ยม ทำให้มีความสามารถในการปรับตัว รวมถึงพฤติกรรมการกินอยู่ อาศัยและหลับนอน ตลอดจนการเรียนรู้ ความอยากรู้อยากเห็น และมีความฉลาดมากกว่าสัตว์เลื้อยคลานมาก ทำให้ในยุคมีโซโนอิกเป็นยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครองโลกเป็นต้นมา ( อันดับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 3 อันดับที่ฉลาดที่สุดในโลก 1. มนุษย์ 2. วานร 3. โลมา )แต่ยังไม่ครองโลกนานเท่าไรนัก เนื่องจากมนุษย์ถือกำเนืดมาเมื่อ 1.8 ล้านปีมานี่เอง

แหล่งที่มา  :  

http://th.wikipedia.org/wiki  เมื่อวันที่  1  กุมภาพันธ์  2556


 

แรงโน้มถ่วงของโลก ปรากฏการณ์ และการประยุกต์ใช้

แรงโน้มถ่วง (Gravitational force)

       


        แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงซึ่งโลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น  โดยมีทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางโลก  เป็นแรงที่ยึดเหนี่ยววัตถุให้ติดอยู่กับพื้นโลก มิฉนั้นวัตถุหรือแม้กระทั้งบรรยากาศจะหลุดปลิวไปในอากาส  นิวตันได้ค้นพบธรรมชาติพื้นฐานของแรงดึงดูดโน้มถ่วงระหว่างวัตถุใดๆ สองวัตถุ  นิวตันตีพิมพ์กฏความโน้มถ่วงพร้อมกับกฏการเคลื่อนที่  3ข้อของเขา ในปี ค.ศ.1687 เราอาจแถลงกฏนี้ได้ดังนี้
     "ทุกอนุภาคสสารนี้เอกภพดึงดูดทุกอนุภาคอื่นด้วยแรงซึ่งแปรผันตรงกับผลคูณของมวลของอนุภาคและแปรผกผันกับกำลังสองของระยะห่างระหว่างอนุภาคทั้งสองนั้น"


ภาพเเอ๊ปเปิ้ลตก  เกิดจากเเรงโน้มถ่วงของโลก


วัตถุมีมวล  m   จะมีแรงโน้มถ่วงกระทำต่อวัตถุขนาดเท่ากัน
              F   =  mg
      เมื่อ   g   =  ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก
                  =  9.81 m/s.s
      ถ้า   m   มีหน่วยเป็นกิโลกรัม
            F    จะมีหน่วยเป็นนิวตัน
          แรง F นี้คือสิ่งที่เรามักเรียกว่า "น้ำหนัก" (Weight) เนื่องจาก g มีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งต่างๆ ของโลก แรง F จึงมีค่าเปลี่ยนไปด้วยเล็กน้อย
          มนุษอวกาศที่อยู่บนดวงจันทร์ (g=1.6 m/s.s) จะมีน้ำหนักน้อยกว่าขนาดที่อยู่บนโลกประมาณ 1/6 เท่า
         ในอวกาศ  g  มีค่าเป็น  0  แรง F จึงมีค่าเป็นศูนย์ด้วย  นี่คือสภาพที่เรียกว่า "ไร้น้ำหนัก" 


ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงโลก
     -การพังทลายของดินกับแรงโน้มถ่วงของโลก
          ปัจจัยที่ทำให้เกิดการพังทลายของดิน ได้แก่ แผ่นดินไหว  มนุษย์ สัตว์ น้ำ ลม และแรงโน้มถ่วงของโลก แรงโน้มถ่วงของโลกมีผลทำให้เกิดการพังทลายของดิน ซึ่งพบได้จากบริเวณที่มีความลาดชันสูง เมื่อมีฝนตกหนักจนดินอิ่มตัว ทำให้แรงยึดตัวของดินมีน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงของโลก ดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำจะเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำตามแรงดึงดูดของโลก เกิดดินเลื่อนหรือดินถล่มเป็นต้น

ภาพการพังทลายของดิน

     -การหย่อนคล้อยของผิวหนังกับแรงโน้มถ่วงโลก
        เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุเราจะพบว่าผิวหนังเกิดการเหี่ยวย่น หย่อนคล้อย หน้าอกหย่อนยานไม่คงรูป เนื่องจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิวหนัง และอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว คือ แรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเมื่อเซลล์ผิวหนังเสื่อมสภาพจะทำให้แรงยึดระหว่างเซลล์ผิวหนังกับเนื้อเยื่อมีค่าน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงของโลก

     -การประยุกต์ใช้แรงโน้มถ่วงของโลกในทางคลีนิก
           ระบบสรีรวิทยาของคนโดยปกติได้รับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกมาแต่กำเนิด ดังนั้นสภาพไร้น้ำหนักจึงมีผลต่อร่างกาย เช่น การหมุนเวียนของเลือดจะไม่เป็นปกติ เลือดที่บริเวณเข้าจะลดน้อยลง เพราะแรงโน้มถ่วงของโลกมีส่วนในการทำให้เกิดความดันเลือด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยการขับน้ำออก การเมาคลื่นอวกาศก็เป็นไปได้  เพราะระบบการควบคุมการทรงตัวในหูอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ผู้ที่จะเดินทางในอวกาศจึงได้รับการฝึกฝนให้ชินต่อสภาพไร้น้ำหนักในเครื่องบินหรือใต้ทะเล
        การไหลเวียนของเลือดอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ความดันของเลือดที่อวัยวะส่วนบนจะน้อยกว่าส่วนล่าง  คนที่ยืนเป็นเวลานานจะทำให้เลือดคลั่งบริเวณขา หรือถ้ายกแขนขึ้น เป็นเวลานานเลือดจะไหลลงทำให้แขนชา คนที่เป็นลมสมองจะขาดเลือดชั่วครู่ ดังนั้นจึงมักพยาบาลโดยการให้ผู้ป่วยนอนราบลงให้ศรีษะต่ำเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลกลับไปยังสมอง ผู้ที่มีอาการเลือดลมไม่เป็นปกติที่ส่วนล่าง มักจะได้รับการบำบัดโดยให้ออกกำลังขา โดยการแกว่งขาไปมาที่ขอบเตียง

ภาพการไหลเวียนของเลือดอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก



                 การเอาน้ำออกจากปอด (Postural drainage)  ใช้วิธีให้ผู้ป่วยนอนคว่ำหน้าลงบนเตียง โดยให้ส่วนศรีษะและอกอยกว่าระดับเตียงแล้วให้น้ำไหลออกจากปอด โดยแรงโน้มถ่วงของโลก

ภาพการนอนคว่ำให้น้ำออกจากปอด


การผ่าตัดสมองมักจะกระทำกันโดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือกึ่งท่านั่งเพื่อลดอันตรายจากเลือดตก (Hemorrhage) ภายหลังการผ่าตัดจะยกหัวเอียงขึ้นเพื่อให้เลือดไหลจากสมองได้สะดวก
       การให้น้ำเกลือหรือกลูโคสแก่คนไข้ โดยห้อยขวดน้ำเกลือไว้ที่ระดับเหนือเตียงจะช่วยให้น้ำเกลือไหลเข้าสู่เส้นเลือดได้



การส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมสู่อวกาศ
         แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงที่ดึงดูดต่อวัตถุทั้งหมดบนโลกไม่ให้หลุดลอยไปนอกโลก การส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมจากโลกสู่อวกาศอันดับแรกจะต้องพยายามหนีออกจากแรงดึงดูดของโลกให้ได้ ซึ่งต้องใช้ความเร็วที่ผิวโลกมากกว่า 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งเรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น



ภาพการส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมสู่อวกาศ



แหล่งที่มา :                   http://www.gotoknow.org/posts/504730   เมื่อวันที่  1  กุมภาพันธ์  2556